หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด (Medical Instruments and Operating Room Technology : MIORT) มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การวิจัย สร้างและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง รวมตลอดทั้งเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการแพทย์การสาธารณสุข ซึ่งเป็นสถานบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวที่มีหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด ซึ่งผลิตนักเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัดในการทำงานระดับวิชาชีพที่สามารถทำงานได้ทั้งในสถานพยาบาลและสถานประกอบการ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และสมรรถนะทางด้านการประเมินความคุ้มค่าและความเหมาะสมเครื่องมือแพทย์ การจัดเตรียมเครื่องมือแพทย์ในระดับต้นสำหรับใช้งานกับผู้ป่วย การติดตั้งเครื่องมือแพทย์แบบไม่รุกล้ำระดับต้นกับผู้ป่วย การเฝ้าระวังและติดตามการทำงานเครื่องมือแพทย์ระดับต้นระหว่างใช้งาน การแก้ไขปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องมือแพทย์ระดับต้น การให้คำแนะนำในการใช้งานแก่ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์อื่นในเบื้องต้น การบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์เชิงป้องกัน การร่วมจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ระดับต้น การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับจัดทำคุณสมบัติเครื่องมือแพทย์ การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับหน่วยงาน และการติดตามการพัฒนาทางเทคโนโลยีของเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตนักเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด ที่มีคุณลักษณะ 1. มีคุณธรรม พอเพียง มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ และเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2. มีความรอบรู้ในศาสตร์เกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัดและศาสตร์ที่เกี่ยวของ สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 3. มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติงาน เพื่อจัดเตรียมและการใช้งานเครื่องมือแพทย์ในห้องผ่าตัด ภายใต้การกำกับดูแลของศัลยแพทย์ สามารถจัดเตรียม บำรุงรักษา และควบคุมการทำงานที่เกี่ยวกับ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์และห้องผ่าตัด รวมทั้งดูแลการจัดสถานที่ใน สำหรับติดตั้งจัดการวางอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ การจัดท่าผู้ป่วยในการผ่าตัดรวมทั้งระบบที่จำเป็นในการอำนวยความสะดวกในห้องผ่าตัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 4. มีความเข้าใจและมีทักษะการวิจัย จริยธรรมการวิจัย การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเผยแพร่และนำเสนอผลงาน 5. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพในการวางแผนงานด้านเครื่องมือทางการแพทย์ คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา 1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ หรือเทียบเท่า โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ 2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า หรือ 3. นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และประสงค์จะเรียนในต่างคณะวิชาเป็นปริญญาตรีที่สอง หรือ 4.ผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีไม่จำกัดสาขาวิชาและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างน้อย 2 ปี โครงสร้างหลักสูตร หลักสูตร 4 ปี 134 หน่วยกิต 1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต รายวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต รายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ 98 หน่วยกิต กลุ่มวิชาพื้นฐาน 35 หน่วยกิต กลุ่มวิชาพื้นฐาน การปฏิบัติงานใน สถานพยาบาล 17 หน่วยกิต กลุ่มวิชาเอก 46 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต ***ประมาณค่าใช้จ่ายในการศึกษา ภาคการศึกษาละ 28,500 บาท*** การคัดเลือกเข้าศึกษา - รับนักศึกษาปีการศึกษาละ 40 คน รับแบบ Admission - รับนักศึกษาปีการศึกษาละ 10 คน รับตรงอิสระ: นักเรียนทั่วไปและบุคคลทั่วไป ข่าวรับสมัครนักศึกษา คลิ๊ก แนวทางในการประกอบอาชีพ - นักปฏิบัติการเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด นักเทคโนโลยีคลินิก นักอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด หน่วยอภิบาล และห้องสวนหัวใจหลอดเลือด ในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบัน/สำนัก/หน่วยงานด้านการแพทย์ คลินิกการพยาบาล หัตถการผ่าตัดหรืองานฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น - ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ หรือการประยุกต์ใช้งานเครื่องมือแพทย์ ประจำองค์การที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัด ทั้งภาครัฐและเอกชน - วิศวกรบริการหรือนักเทคนิคฝ่ายบริการ สนับสนุนการให้บริการด้านการใช้ การดูแล บำรุงรักษาเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีขั้นสูง - ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ ประจำบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการการให้บริการทางด้านเครื่องมือแพทย์ - นักจัดการและดูแลระบบงานต่างๆ ในสถานพยาบาล การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยี เครื่องมือแพทย์ - อาจารย์ผู้สอนด้านปฏิบัติการงานการแพทย์ และเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และห้องผ่าตัดในสถานศึกษา ของรัฐและเอกชน - นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยต่างๆ และสามารถศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท/เอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องFacebook Fanpage : Medical Instruments and Operating Room Technology - MIORT NMU
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
สอบถามรายละเอียดที่ นพ.อิศร ภูเนาว์นิล อ.ฉวีวรรณ สระสงค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300 โทร: 02-241-6568