หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
(Bachelor of Science Program in Paramedicine)
  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ได้จัดตั้งขึ้นในปี ๒๕๕๘ จากการประเมินผู้ใช้บัณฑิตพบว่า บัณฑิตหลักสูตรปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สามารถตอบสนองความต้องการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ในระดับที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นี้ ยังมุ่งเน้นการเรียนรู้ให้เอื้อต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้บัณทิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นผู้มีทั้งความรู้ คุณธรรมจริยธรรม การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองแผนกลยุทธ์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีคุณธรรม มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ พอเพียง มีวินัยและความรับผิดชอบ เคารพในศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในทุกสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ สามารถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และการบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ทุกประเภท มีความสามารถในการวางแผน การบัญชาการ การป้องกัน การประสานงานกับเครือข่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความเข้าใจและทักษะในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สืบค้นข้อมูล การเผยแพร่และการนำเสนอผลงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินหรือสร้างนวัตกรรมได้
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความสามารถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และประสานการปฏิบัติการในเมืองขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ “ด้านเวชศาสตร์เขตเมือง” โดยสามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามกฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 147 หน่วยกิต
  1. ภาคทฤษฎี จัดให้ 1 หน่วยกิต เท่ากับ 15 ชั่วโมง/สัปดาห์
  2. ภาคปฏิบัติ จัดให้ 1 หน่วยกิต เท่ากับ 30 ชั่วโมง/สัปดาห์
  3. ภาคสนาม จัดให้ 1 หน่วยกิต เท่ากับ 45 ชั่วโมง/สัปดาห์
โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
  1. หมวดการศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     ก. รายวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
     ข. รายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
  2. หมวดวิชาเฉพาะ 111 หน่วยกิต
     ก. กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 32 หน่วยกิต
     ข. กลุ่มวิชาชีพ 26 หน่วยกิต
     ค. กลุ่มวิชาเอก 53 หน่วยกิต
  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  จำนวนหน่วยกิตรวม 147 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โปรแกรมวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์หรือเป็นผู้ได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
  2. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีบุคลิกภาพดี ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหาย ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่อนุกรรมการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ และการให้ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม (อศป.) เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งผู้ปฏิบัติการ
  4. มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินผลการเรียน
  นักศึกษาต้องสอบได้เกรด A, B+, B, C+, C, D+ หรือ D จึงถือว่าสอบผ่าน ถ้าสอบได้เกรด F ถือว่าสอบไม่ผ่าน ถ้าเป็นวิชาบังคับตามหลักสูตร นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ ถ้าเป็นวิชาเลือกนักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิชาอื่นแทนวิชาที่สอบไม่ผ่านได้

การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
รับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS จำนวน 30 คน

รอบที่ 1 การรับสมัครด้วยแฟ้มสะสมผลงาน Portfolio ผ่าน www.nmu.ac.th
กลุ่ม 1 กลุ่มนักเรียนโรงเรียนในสังกัด กทม. 9 โรงเรียน
กลุ่ม 2 นักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย/นักเรียนที่เป็นบุตรของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญในสังกัด กทม. และพนักงานมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช/นักเรียนโรงเรียนสังกัด อปท.
กลุ่ม 3 สำหรับนักเรียน/บุคคลทั่วไป
รอบที่ 3 การรับแบบ Admission สำหรับนักเรียนทั่วไป
รอบที่ 4 การรับแบบอิสระ สำหรับนักเรียนทั่วไป
ข่าวรับสมัครนักศึกษา คลิ๊ก

แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์การพัฒนาเอกชน โดยลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ งานด้านปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ งานให้คำปรึกษา ควบคุม ป้องกัน ลดและแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ และอุบัติภัยหมู่ รวมถึงวางแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน ตัวอย่างลักษณะงานที่รองรับบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษา อาทิ
1) นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
2) นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3) นักวิทยาศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
4) อาจารย์
5) นักวิจัย หรือผู้ช่วยนักวิจัย

Facebook Fanpage : Vajira Intensive Paramedics

สอบถามรายละเอียดที่ อ.ธนาวุฒิ กันหา
อ.ฟ้าใส ใจเบิกบาน   คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ   มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300 โทร: 02-241-6568