การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเกือบทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 รวมทั้งมีการก่อตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเแินแห่งชาติ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ.2551 - 2555 โดยกำหนดว่าการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS) หมายถึงการบริการผู้บาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและสาธารณภัย ครอบคลุมตั้งแต่การรับแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน การให้คำแนะนำปรึกษาฉุกเฉิน การดูแลรักษาพยาบาลฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล การลำเลียง ขนย้ายและนำส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสม และการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในสถานพยาบาล จนกระทั่งพ้นภาวะฉุกเฉินโดยกำหนดกรอบระบบการแพทย์ฉุกเฉินว่าประกอบด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่องถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital care) ระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลและระบบส่งต่อ (Emergency department and transfer system) และระบบการแพทย์ฉุกเฉินฝนกรณีภัยพิบัติ นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เพิ่มองค์ประกอบการดูแลสุขภาพด้าน Pre-hospital trauma and emergency care โดยภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และสาธารณภัย ได้รับการรับรองและอยู่ภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพได้มีความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โดยให้อาจารย์ผู้สอนที่สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ ร่วมกับอาจารย์สังกัดคณะคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาหลักสูตรนี้ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือและตั้งใจในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
Facebook Fanpage : Vajira Intensive Paramedics