หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย
(Bachelor of Science Program in Disaster Management)
  มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชเห็นความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศให้เป็นนักจัดการสาธารณภัยมืออาชีพ ที่สามารถปฏิบัติงานด้านการป้องกันสาธารณภัยได้จริง มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย โดยจัดให้เป็นหลักสูตรสายวิชาชีพ/ปฏิบัติการ เพื่อผลิตบัณฑิตเป็นกำลังสำคัญ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภัยประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์สาธารณภัย ของประเทศและของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิต “นักจัดการสาธารณภัย” หรือ “นักกู้ภัย” หรือ “นักดับเพลิงอาชีพ” ที่มีคุณลักษณะ 1. มีคุณธรรม มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ พอเพียง มีวินัยและความรับผิดชอบ เคารพในศักดิ์ศรี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2. มีความรอบรู้ในศาสตร์การจัดการสาธารณภัย สามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้อย่างเหมาะสม 3. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ สามารถปฏิบัติการและจัดการกับภัยทุกประเภท มีความสามารถในการวางแผน การบัญชาการ การป้องกัน การประสานงานกับเครือข่าย การระงับสาธารณภัย และการฟื้นฟูหลังเกิดภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย 4. มีความเข้าใจและทักษะในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย สืบค้นข้อมูล การเผยแพร่และการนำเสนอผลงาน 5. มีความสามารถเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภัยทุกประเภทได้ สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในบทบาทของชุดเผชิญเหตุที่ต้องปฏิบัติการในที่เกิดเหตุ และชุดวางแผนที่เน้นวิชาการ การวางแผน และการบริหารจัดการ  

โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ๑๒๖ หน่วยกิต

- ภาคทฤษฎี จัดให้ 1 หน่วยกิต = 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ (1 ชม./สัปดาห์)
- ภาคปฏิบัติ จัดให้ 1 หน่วยกิต = 30 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ (2 ชม./สัปดาห์)
- การฝึกงานภาคสนาม จัดให้ 1 หน่วยกิต = 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ (3 ชม./สัปดาห์)
- การทำสารนิพนธ์ จัดให้ 1 หน่วยกิต = 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ (3 ชม./สัปดาห์)
โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณภัย
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
ก. รายวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
ข. รายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
(วิชาทางทฤษฎี 54 หน่วยกิต และวิชาทางปฏิบัติ 36 หน่วยกิต)
ก. กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 หน่วยกิต
ข. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 25 หน่วยกิต
ค. กลุ่มวิชาเอก 50 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวม 126 หน่วยกิต
          คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา 1.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า 2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. หรือเทียบเท่า 3.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาเป็นปริญญาตรีที่สอง 4.มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

การประเมินผลการเรียน นักศึกษาต้องสอบได้เกรด A, B+, B, C+, C, D+ หรือ D จึงถือว่าสอบผ่าน ถ้าสอบได้เกรด F ถือว่าสอบไม่ผ่าน ถ้าเป็นวิชาบังคับตามหลักสูตร นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ ถ้าเป็นวิชาเลือกนักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิชาอื่นแทนวิชาที่สอบไม่ผ่านได้

การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
รับสมัครคัดเลือกเข้าศึกษาด้วยระบบ TCAS จำนวน 30 คน

รอบที่ 1 การรับสมัครด้วยแฟ้มสะสมผลงาน Portfolio ผ่าน www.nmu.ac.th
กลุ่ม 1 กลุ่มนักเรียนโรงเรียนในสังกัด กทม. 9 โรงเรียน
กลุ่ม 2 นักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย/นักเรียนที่เป็นบุตรของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญในสังกัด กทม. และพนักงานมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช/นักเรียนโรงเรียนสังกัด อปท.
กลุ่ม 3 สำหรับนักเรียน/บุคคลทั่วไป
รอบที่ 3 การรับแบบ Admission สำหรับนักเรียนทั่วไป
รอบที่ 4 การรับแบบอิสระ สำหรับนักเรียนทั่วไป
ข่าวรับสมัครนักศึกษา คลิ๊ก

แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพด้านการจัดการสาธารณภัยในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์การพัฒนาเอกชน โดยลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ งานด้านการปฏิบัติทางด้านสาธารณภัย งานให้คำปรึกษา วางแผนโครงการ ออกแบบ ควบคุม ป้องกัน ลดและแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเขตเมือง รวมถึงวางแผนรองรับภาวะฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และสาธารณภัย ที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตัวอย่างลักษณะงานที่รองรับบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษา อาทิ
1) นักวิชาการด้านสาธารณภัย
2) นักดับเพลิงอาชีพ
3) นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
5) นักกู้ภัย
6) อาจารย์ หรือนักวิจัย

Facebook Fanpage : Disaster Navamindradhiraj Team DNT

สอบถามรายละเอียดที่
อ.กีรติ ศรีประไหม 
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ  
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
3 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300
โทร: 02-241-6568

อาจารย์กวิน ติยวัฒน์
หัวหน้าภาควิชา/อาจารย์

อาจารย์กีรติ ศรีประไหม
อาจารย์

อาจารย์นพดล อมรเวช
อาจารย์

อาจารย์นที รื่นวิชา
อาจารย์

อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีวีรยุทธ หมื่นบุญมี
อาจารย์

อาจารย์ นาวาเอกสมมาตร์ เนียมนิล
อาจารย์

อาจารย์นิธิพนธ์ น้อยเผ่า
อาจารย์

อาจารย์อจิรา เที่ยงตรง
อาจารย์

อาจารย์ปริชาติ เวชยนต์
อาจารย์

อาจารย์ผู้ช่วย สิบเอกกฤษณธร ชุมแวงวาปี
อาจารย์ผู้ช่วย